welcome

welcome

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปครั้งที่ 8



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ได้ติดธุระไปต่างประเทศ และให้เตรียมตัวอ่านหนังสือในการสอลกลางภาค


วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปครั้งที่ 7


วันนี้ได้มีการเรียนชดเชย เนื่ืองจากวันอาสาฬบูชา
ได้มีการอบรมทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย




  

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปครั้งที่ 6


ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันหยุดอาสาฬหบูชา


วันอาสาฬหบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ "วันพระสงฆ์"เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักร(ฟัง) เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ และเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก
อาสาฬหบูชา (บาลีอาสาฬหปูชาอังกฤษAsalha Puja) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย[1] คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน
วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ[2] ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรกเป็นปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์[3]
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ท่านจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก และด้วยเหตุที่ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล (อนุพุทธะ) เป็นคนแรก จึงทำให้ในวันนั้นมีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้วันนี้ถูกเรียกว่า "วันพระธรรม" หรือ วันพระธรรมจักร อันได้แก่วันที่ล้อแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้หมุนไปเป็นครั้งแรก และ "วันพระสงฆ์" คือวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อีกด้วย
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อน จนมาในปี พ.ศ. 2501 การบูชาในเดือน 8 หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย ตามที่คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)[4] โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[5] กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล
อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปครั้งที่ 5


     วันนี้ดิฉันไม่สบายเนื่องจากดิฉันเป็นภูมิแพ้ จึงไม่ได้มาเรียน แต่ได้ถามงานและติดตามงานกับเพื่อนๆ

อาจารย์ให้ทำงานส่งดังต่อไปนี้
1.งานประดิษฐ์ของเล่น
2. งานประดิษฐ์ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
3.งานประดิษฐ์สำหรับการทดลอง




วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปครั้งที่ 4



การเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ให้ดู  VDO เรื่องอากาศมหัศจรรย์  ซึ่งอากาศมีอยู่รอบๆตัวเรา  สัตว์  พืช  แล้วเราต้องใช้อากาศเหล่านี้หายใจเพื่อดำรงชีวิต ได้เรียนรู้ความมหัศจรรย์อากาศ

อากาศมหัศจรรย์

      เครื่องบินโบอิ้ง 747 “จัมโบ้” เจ็ท เคลื่อนที่บนทางวิ่ง  บรรทุกผู้โดยสารและลูกเรือกว่า 350 ชีวิต ความยาวลำตัวกว่า 180 ฟุต ยาวกว่าเที่ยวบินแรกของพี่น้องตระกูลไรท์ในปี1903 ถึง 10 เท่า น้ำหนักประมาณ 400 ตันใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมากพอที่จะขับรถตุ๊กๆ ได้สามปี  แต่ภายในไม่กี่วินาทีเจ้าปีศาจเหล็กตัวใหญ่ก็นำสิ่งของต่างๆขึ้นไปอยู่ในอากาศอย่างรวดเร็ว สามารถบินสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสที่ความเร็วเกือบ 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นไปได้อย่างไร  มีวิธีการอย่างไรเพื่อทำให้ได้เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากบินได้ดี ?

นกอัลบาทรอสบินโฉบเฉี่ยวเหนือมหาสมุทรกับปีกยาวห้าฟุตของมัน ตัวมันแทบจะไม่เคยสัมผัสพื้น  แต่สูงขึ้นไปอีกสี่หมื่นฟิตเครื่องบินคอนคอร์ดของสายการบิน บินผ่านท้องฟ้าที่สองเท่าของความเร็วของเสียง ในช่วงเวลาเพียงสองชั่วโมงครึ่งนั้นพาผู้โดยสารจากกรุงลอนดอนไปนิวยอร์ค  ทั่วโลกมีสิ่งที่บินได้ลอยอยู่ในอากาศมากมาย  สิ่งมีชีวิตบินร่วมกับสิ่งที่มนุษย์สร้าง  พวกเขาจัดการให้อยู่เป็นระเบียบได้อย่างไร แต่ละเที่ยวบินที่มีการทำงานอย่างไร
คำถาม  จะทำอย่างไรห้วงอากาศและการเคลื่อนที่ของวัตถุทางอากาศ
การเคลื่อนที่ของอากาศ และการเกิดแรง
การเคลื่อนที่ของอากาศทำให้เกิดแรง  อากาศมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา มันจะมองไม่เห็น  แต่เมื่อเกิดการเคลื่อนมันจะมี อำนาจในการเคลื่อนย้ายทางอากาศสูงอย่างน่าใจหาย ตัวอย่างชัดเจนเช่นการเกิดพายุทอร์นาโดหรือพายุเฮอริเคน  ต้นไม้ถูกถอน  บ้านและรถถูกยกลอยขึ้นราวกับของเล่น
อากาศดูเหมือนว่าไม่มีน้ำหนัก แต่อากาศที่อยู่รอบตัวคุณมีน้ำหนักประมาณเดียวกับที่คุณออกแรงกระทำ  ในความเป็นจริงอากาศทั้งหมดของในโลกมีน้ำหนักประมาณ  11 quintillion
สำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน อากาศถูกสร้างขึ้นจากอนุภาคเล็ก ๆ เรียกว่าโมเลกุล  ในของแข็งหรือของเหลวโมเลกุลอยู่ด้วยกันอย่างหนาแน่น  แต่ในก๊าซเช่นอากาศ โมเลกุลอยู่ห่างไกลกันและไปมาอย่างรวดเร็ว ความเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของอากาศในห้องประมาณ 1,130 ไมล์ต่อวินาที
เมื่อโมเลกุลอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงจากบางสิ่งบางอย่าง เช่นเมื่อดันมือออกไปเพียงเล็กน้อยอากาศจะกลับมาแทนที่อากาศที่ถูกดันออกไปทันที  ผลการเคลื่อนที่ของเพียงหนึ่งโมเลกุลเล็กๆมาแทนที่นั้นก่อให้เกิดแรงกดหรือแรงดัน โดยสัมผัสจากความรู้สึกได้จากโมเลกุลของอากาศเป็นพันพันล้านที่อยู่รอบมือที่มีการเคลื่อนที่  โมเลกุลของอากาศจะเกิดการแทรกสอดกับด้านอื่นๆของมือ ทุกวินาที
การทดลอง
สิ่งที่ต้องเตรียม
กระดาษสองแผ่น กับสมุดเล่มหนา
วิธีการทดลองที่ 1   ถือแผ่นกระดาษไว้ที่ริมฝีปากล่างและเป่าลมออกอย่างเร็วทั่วทั้งพื้นผิวด้านบน จะเกิดอะไรขึ้น?
วิธีกาทดลองที่ 2  วางหนังสือบนโต๊ะห่างกันประมาณ 4 นิ้ว วางแผ่นกระดาษไว้ที่หนังสือด้านหนึ่ง เป่าลมผ่านช่องว่างระหว่างหนังสือ โปรดสังเกตการเคลื่อนที่ของกระดาษ
วิธีกาทดลองที่ 3  ถือกระดาษสองแผ่นห่างกันไม่กี่นิ้วใช้ลมปากเป่าผ่านช่องกระดาษทั้งสองอย่างเร็ว และดูว่าเกิดอะไรขึ้น
ให้อธิบายผลจากการสังเกต เกี่ยวกับความกดอากาศที่เกิดขึ้นกับกระดาษอย่างใดอย่างหนึ่งในแต่ละการทดลอง สิ่งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบกับแรงความกดดันในด้านใด?
เมื่อ  ความเร็วเพิ่มขึ้น  ความดันลดลง
ในปี ค.ศ. 1738  นักคณิตศาสตร์ชาวสวิส Daniel Bernoulli ทำการค้นพบที่น่าแปลกใจ และได้กลายเป็นที่รู้จักกันในหลักการกฏของไหลเบอร์นูลี “Bernoulli”
Bernoulli พบว่าเมื่อความเร็วของก๊าซหรือของเหลวเพิ่มขึ้นความดันของมันจะลดลง ถ้าอากาศเคลื่อนที่รอบวัตถุที่ความเร็วเท่ากันแล้วความดันทุกด้านจะลดลงด้วยจำนวนเดียวกัน ในกรณีนี้แรงผลักดันจากทุกทิศทางยังคงความสมดุล
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าอากาศที่ผ่านวัตถุสองด้านแต่มีความเร็วต่างกัน อากาศด้านบนของของวัตถุมีความเร็วมากกว่าอากาศด้านล่าง  ความดันที่เกิดขึ้นจะแตกต่างอย่างไร
จากหลักการของ Bernouilli ทำให้ความดันที่ด้านบนจะน้อยกว่าที่อยู่ด้านล่าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแรงยกมากกว่าแรงกด
การทดลอง กระแสอากาศ
สิ่งต้องเตรียม
  1.  ขวดแก้ว
  2. ไม้ไผ่เล็กทำเสาธง 20-30 อัน
  3. กระดาษ, กรรไกรและกาว
  4. ไม้บอร์ดขนาดใหญ่หรือบอร์ดไม้ก๊อก
  5. แผ่นกระดาษขนาดใหญ่\
  6. ดินสอ
  7.  เครื่องเป่าลม
การทดลองที่ 1
ตัดกระดาษขนาด กว้าง½ นิ้ว ยาว 2 นิ้ว  พับกระดาษติดกับไม้เพื่อทำธงขนาดเล็ก  กระดาษควรจะหมุนรอบเสาได้คล่อง
นำขวดแก้ววางที่ใกล้ขอบของกระดานไม้บอร์ด วาดเส้นแบ่งกลางไม้บอร์ด ติดตั้งธงเข้าบนไม้บอร์ดทางด้านหลังของขวดแก้วให้ทั่วบอร์ด
นำเครื่องเป่าลมห่างจากขวดประมาณ 6 นิ้ว  ตรงตามแนวเส้นศูนย์ เปิดลมผ่านขวดด้วยความเร็วต่ำและสูงสลับกัน จากนั้นปิด สังเกตุทิศทางของธง
วาดเส้นสั้นๆใต้แต่ละธง เพื่อแสดงทิศทางที่ลมผ่าน แล้วเอาธงออก  สังเกตรูปแบบของเส้น ให้บอกเกี่ยวกับวิธีที่อากาศไหลรอบ ๆ โถเป็นอย่างไร
การทดลองที่ 2
ให้ทำการทดลองซ้ำโดยใช้วัสดุที่มีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มาแทนขวด เช่น รูปทรงรี รูปทรงเหลี่ยม
หรือแผ่นหน้าตัดเป็นต้น
แรงหน่วงผิว

ซึ่งผลได้รับการอธิบายครั้งแรกโดยวิศวกรโรมาเนีย, Henri Coanda, ในปี ค.ศ. 1926  กล่าวคือเมื่อน้ำผ่านใกล้พื้นผิวเรียบ อากาศระหว่างกลางจะถูกน้ำพาเคลื่อนที่ ทำให้ความดันของอากาศระหว่างกลางน้อยกว่าด้านนอก น้ำจึงถูกผลักให้ไหลผ่านผิวเหยือก และเมื่อผ่านพื้นผิวเรียบ ของไหลจะพยายามทำตามพื้นผิวของวัตถุ จะสังเกตุว่าจะมีการเปลี่ยนทิศทางของๆไหลผลการทดลองของกฎ Coanda
ให้สังเกตุน้ำจากเหยือกที่ไหลลงด้านข้างของเหยือก ในความเป็นจริงทุกของเหลวและก๊าซในลักษณะนี้ จะไหลลงพื้นเป็นเส้นทางตรงโดยธรรมชาติ แต่น้ำกลับไหลติดผิวเหยือก
ซึ่งผลได้รับการอธิบายครั้งแรกโดยวิศวกรโรมาเนีย, Henri Coanda, ในปี ค.ศ. 1926  กล่าวคือเมื่อน้ำผ่านใกล้พื้นผิวเรียบ อากาศระหว่างกลางจะถูกน้ำพาเคลื่อนที่ ทำให้ความดันของอากาศระหว่างกลางน้อยกว่าด้านนอก น้ำจึงถูกผลักให้ไหลผ่านผิวเหยือก และเมื่อผ่านพื้นผิวเรียบ ของไหลจะพยายามทำตามพื้นผิวของวัตถุ จะสังเกตุว่าจะมีการเปลี่ยนทิศทางของๆไหล

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปครั้งที่ 3

     ความหมายวิทยาศาสตร์
1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกต
2. เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้
3. เรื่อวราวสิ่งแวดล้อม
4. เรื่องราวที่เป็นกระบวนการอย่างมีระบบ
5. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง

     ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ให้พัฒนาเทคโนโลยี
- สร้างอาชีพ

     กระบวนการปรับโครงสร้าง
1. เด็กได้มีประสบการณ์
2. บางเรื่องสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
3. บางเรื่องแตกต่างจากประสบการณ์เดิม
4. ปรับปรุงใหม่