welcome

welcome

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย

สรุปวิจัยเรื่อง  ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ได้นำเสนอดังนี้
1. ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    - ความความและความสำคัญของทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์
    - ประเภทญของทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์
    - มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
    - การส่งเสริมทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตรืสำหรับเด็ก
    - ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องจากสีธรรมชาติ
    - สีธรรมชาติ
    - สีที่ใช้ในการทำขนมไทย

ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์
      เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ มีรายละเอียดของแต่ละทักษะ

ทักษะการสังเกต
             การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:60) ได้กล่าวว่า ในการสังเกตต้องระวังอย่านำความคิดเห็นส่วนตัวไปปนกับความจริงที่ได้จากการสังเกตเป็นอันขาด เพราะการลงความคิดเห็นของเราในสิ่งที่สังเกตอาจจะผิดก็ได้ ถ้าอยากรู้ว่าข้อมูลที่บันทึกนั้นเกิดจาการสังเกตหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลที่ได้นี้ได้มาจากการใช้ประสาทสัมผัสส่วนไหนหรือเปล่า ถ้าคำตอบว่าใช่ แสดงว่าเป็นการสังเกตที่แท้จริง
นิวแมน (Neuman 1978: 26) ได้เสนอหลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
             1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
             2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
             3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง
ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า
สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ
             1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
             2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
             3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต
การสังเกตโดยใช้ตา              ในการสังเกตโดยใชสายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆ สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ โดยขั้นแรกให้ดูสิ่งที่เด็กพบ เห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ขณะที่พาเด็กไปเดินเล่นในบริเวณโรงเรียน ครูเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้เด็กดู (ไม่ควรเด็ดใบไม้จากต้น ถ้าเด็กอยากเด็ด ให้บอกเด็กว่า “เก็บ จากพื้นดีกวา ดอกไม้ใบไม้ที่อยู่กับต้นช่วยให้ต้นไม้ดูสวยงามและเจริญเติบโต ถ้าเราเด็ด ออกมาดูอีกเดี๋ยวเดียวก็จะเหี่ยว”) ให้เด็กสังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ เด็กจะเห็นว่า ใบไม้ ส่วนใหญ่มีสีเขียว แต่บางใบก็มีสีแตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะก็มีทั้งคล้ายกันและต่าง กัน เช่น ใบมะนาวไม่มีแฉก ใบตำลึงมีแฉก เป็นต้น นอกจากใบไม้แล้ว ควรให้เด็กสังเกตุ รูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นลำต้นตรงสูงขึ้นไป เป็นเถาเลื้อยเกาะกับต้นอื่น ให้สังเกต ความแตกต่างของดอกไม้ และผลไม้ต่าง ๆ เช่น ดอกอัญชันมีสีม่วงเข้ม ส่วนดอกมะลิมีสี ขาว แล้วให้เด็กนำไปใช้ประโยชน่อะไรได้ เช่น เอาดอกอัญชันไปใช้ย้อมผ้าได้ ใบเตยนำ
ไปใช้ในการทำขนม ทำให้มีสีสวยและกลิ่มหอม เป็นต้น
นอกจากสังเกตใบไม้แล้ว ครูควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อ สังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ โดยนำเมล็ดที่มีลักษณะคล้ายกันไว้ด้วยกัน รวมทั้งให้คิดว่าเป็นเมล็ดของพืชชนิดใดด้วย
อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสำหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น
             นอกจากความสามารถในการจำแนกเสียงจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือ เสียงสัตว์ต่าง ๆ ครูอาจใช้วิธีอัดเสียงนกในท้องถิ่น เสียงกบร้อง เสียง จักจั่น ฯลฯ แล้วเปิดเทปให้เด็กทายว่าเป็นเสียงสัตว์อะไรที่เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่าง ของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสอนเกี่ยวกับลักษณะและความเป็น อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ ได้ และช่วยให้เด็กมีความกระตือรือร้นที่จะสังเกตและศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมมากขึ้น
สำหรับการฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้เด็กปิดตา แล้วเดาว่าเสียงที่ ครูทำนั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เสียงช้อนคนแก้วน้ำ เสียงฉิ่ง เป็นต้น จากการ ฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้ เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุซึ่งมีผลทำให้ เกิดเสียงที่ต่างกันไป นอกจากนี้ อาจนำเครื่องดนตรี หรือเครื่องให้จังหวะที่ทำด้วยวัสดุ ต่าง ๆ มาแสดงให้เด็กเห็นว่ามีเสียงต่างกัน เช่น ลูกซัดที่ใส่ถั่วเขียวไว้ข้างใน ลูกซัดหวาย ร้อนด้วยฝาน้ำอัดลม กรับไม้ไผ่ ฯลฯ
             กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพื่อให้รู้จักจำแนกได้ ละเอียดขึ้น ในขั้นแรกให้นำของต่าง ๆ ที่จะให้เด็กดมใส่ขวดเอากระดาษปิดขวดรอบนอก เพื่อไม่ให้เห็นสิ่งของ ให้เด็กดมแล้วบอกว่าเป็นกลิ่นอะไร ตัวอย่างสิ่งที่อาจให้ดม ได้แก่ หัวหอม กระเทียม สบู่ กาแฟ ใบสะระแหน่ เปลือกส้ม ยาดม ฯลฯ ต่อมาหลังจากที่เด็ก สามารถจำแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่นสิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความ
แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น สบู่ต่างชนิดกัน ดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ต่าง ๆ ผลไม้ เช่น ส้ม กับมะนาว แล้วให้เด็กพูดบรรยายความรู้สึก เช่น ดอกไม้ดอกนี้หอมชื่นใจ ดอกนี้หอมแรงไป หน่อย ใบไม้นี้มีกลิ่นหอม ใบนี้กลิ่นคล้ายของเปรี้ยว เป็นต้น
             การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเด็กไปพบเห็นสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะได้ไม่เอาเข้าปาก การให้เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จัก ความแตกต่างของรส และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นำมาใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ให้เอาอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายอย่างใส่ถาดให้เด็กปิดตาแล้วครูส่งให้ชิม ให้เด็ก ตอบว่า กำลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ำตาล เกลือ วุ้น มะยม มะนาว ฯลฯ หลังจาก นั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสหล้ายกันว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เช่น มะยมกับ มะนาวแตกต่างกันอย่างไร
             การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป กิจกรรมอาจเริ่มโดยเอาวัตถุหลายอย่างใส่ถุง ให้เด็กปิดตาเอมมือหยิบสิ่งของขึ้นมา แล้ว ให้บอกว่าสิ่งที่คลำมีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็ง หยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ ของที่นำมาใส่ในถุงควรเป็นสิ่งที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ำ ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ เหล่านี้แล้วยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีกด้วย
ทักษะการจำแนกประเภท
             การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้ เป็นต้น
นิวแมน ได้อธิบายว่า เด็กปฐมวัยสามารถจำแนกวัตถุออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้โดยการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุหรือมิติของวัตถุนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก อาทิ สี ความแข็งแรง ขนาดและรูปร่าง เป็นต้น เด็กบางคนอาจจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มได้โดยใช้คุณสมบัติหรือมิติมากกว่าหนึ่งอย่าง ในการจำแนกนี้เด็กควรจะได้รับโอกาสที่ให้สามารถคิดตัดสินใจในการจำแนกโดยใช้วิธีการจำแนกของเด็กเอง และไม่ใช่วิธีการจำแนกของผู้อื่นกำหนดให้ สำหรับ เรส์ด และแพทเตอร์สัน (Resd and Patterson) ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า การจำแนกประเภทเป็นแกนกลางของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ใช้วิธีการจัดระเบียบการสังเกตด้วยตนเอง การจำแนกประเภทนั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 อย่าง คือ เนื้อหาของกระบวนการวิชา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ตลอดทั้งกระบวนการของการจำแนกประเภทของเด็กในการเรียนเกี่ยวกับลักษณะพิเศษของวัตถุชนิดต่าง ๆ ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้นสามารถจะจำแนกคุณสมบัติของวัตถุได้โดยใช้วิธีการพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:68) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทว่า เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้จำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการศึกษาและจดจำ โดยอาศัยเกณฑ์บางอย่างในการจำแนกสิ่งเหล่านี้ เช่น จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นพืชและสัตว์ โดยอาศัยลักษณะรูปร่าง การเคลื่อนไหว การกินอาหาร การขับถ่ายของเสีย และการสืบพันธุ์เป็นเกณฑ์ในการจำแนก เมื่อพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า พืชและสัตว์แตกต่างกันมาก บางครั้งอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างในการเลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการจำแนกประเภท ยกตัวอย่างเช่น แป้งเปียกมีลักษณะกึ่งกลางระหว่างของแข็งกับของเหลว จึงไม่ทราบจะจัดเข้าประเภทใด ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การจำแนกโดยใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดแต่เพียงอย่างเดียว จะมีข้อจำกัดในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ จึงมีข้อเสนอแนะว่าในการจำแนกนั้นเราจะใช้วิธีใด หลักใดก็ตาม วิธีที่ดี คือ วิธีที่ทำให้เราสามารถแยกประเภทและระบุชนิดของวัตถุต่าง ๆ ได้โดยเด็ดขาด ไม่ควรก้ำกึ่งกันจะทำให้สับสน การพัฒนาทักษะในการจำแนกประเภทนั้น ผู้เรียนจะต้องเริ่มด้วยการจำแนกกลุ่มของวัตถุออกเป็นสองพวกตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นก็แบ่งต่อไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นครั้งที่สอง และทำเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งผู้เรียนสามารถแบ่งระบุวัตถุที่มีอยู่จำนวนมาก ๆ ได้
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยวีธีการจำแนกประเภท ครูจะต้องพยายามจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กได้เล่น เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยู่เสมอ กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย ๆ ลักษณะให้ได้มากที่สุดที่เด็กจะทำได้ และหลังจากที่เด็กจำแนกประเภทได้แล้ว ควรให้เด็กอภิปรายเหตุผลที่เขาได้จำแนกตามประเภทเช่นนั้น
ทักษะการจำแนกประเภท
             การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน นอกจากนี้ ประภาพรรณ สุวรรณสุข (2527:37) ได้ให้ความหมายของการจำแนกประเภทว่า หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่งการจัดประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น แยกประเภทตามตัวอักษร ตามลักษณะ รูปร่าง แสง สี เสียง ขนาด ประโยชน์ในการใช้ เป็นต้น
นิวแมน ได้อธิบายว่า เด็กปฐมวัยสามารถจำแนกวัตถุออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้โดยการใช้คุณสมบัติเฉพาะตัวของวัตถุหรือมิติของวัตถุนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ในการจำแนก อาทิ สี ความแข็งแรง ขนาดและรูปร่าง เป็นต้น เด็กบางคนอาจจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มได้โดยใช้คุณสมบัติหรือมิติมากกว่าหนึ่งอย่าง ในการจำแนกนี้เด็กควรจะได้รับโอกาสที่ให้สามารถคิดตัดสินใจในการจำแนกโดยใช้วิธีการจำแนกของเด็กเอง และไม่ใช่วิธีการจำแนกของผู้อื่นกำหนดให้ สำหรับ เรส์ด และแพทเตอร์สัน (Resd and Patterson) ได้กล่าวในทำนองเดียวกันว่า การจำแนกประเภทเป็นแกนกลางของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่ใช้วิธีการจัดระเบียบการสังเกตด้วยตนเอง การจำแนกประเภทนั้นมีสิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 อย่าง คือ เนื้อหาของกระบวนการวิชา คือ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิธีการของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ตลอดทั้งกระบวนการของการจำแนกประเภทของเด็กในการเรียนเกี่ยวกับลักษณะพิเศษของวัตถุชนิดต่าง ๆ ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้นสามารถจะจำแนกคุณสมบัติของวัตถุได้โดยใช้วิธีการพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้ทบวงมหาวิทยาลัย (2525:68) ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทว่า เป็นกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้จำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการศึกษาและจดจำ โดยอาศัยเกณฑ์บางอย่างในการจำแนกสิ่งเหล่านี้ เช่น จำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นพืชและสัตว์ โดยอาศัยลักษณะรูปร่าง การเคลื่อนไหว การกินอาหาร การขับถ่ายของเสีย และการสืบพันธุ์เป็นเกณฑ์ในการจำแนก เมื่อพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้แล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่า พืชและสัตว์แตกต่างกันมาก บางครั้งอาจจะมีปัญหาอยู่บ้างในการเลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการจำแนกประเภท ยกตัวอย่างเช่น แป้งเปียกมีลักษณะกึ่งกลางระหว่างของแข็งกับของเหลว จึงไม่ทราบจะจัดเข้าประเภทใด ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า การจำแนกโดยใช้เกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดแต่เพียงอย่างเดียว จะมีข้อจำกัดในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ จึงมีข้อเสนอแนะว่าในการจำแนกนั้นเราจะใช้วิธีใด หลักใดก็ตาม วิธีที่ดี คือ วิธีที่ทำให้เราสามารถแยกประเภทและระบุชนิดของวัตถุต่าง ๆ ได้โดยเด็ดขาด ไม่ควรก้ำกึ่งกันจะทำให้สับสน การพัฒนาทักษะในการจำแนกประเภทนั้น ผู้เรียนจะต้องเริ่มด้วยการจำแนกกลุ่มของวัตถุออกเป็นสองพวกตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นก็แบ่งต่อไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นครั้งที่สอง และทำเช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งผู้เรียนสามารถแบ่งระบุวัตถุที่มีอยู่จำนวนมาก ๆ ได้
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยด้วยวีธีการจำแนกประเภท ครูจะต้องพยายามจัดหาวัสดุอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กได้เล่น เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจอยู่เสมอ กระตุ้นให้เด็กเสนอแนวคิดในการจำแนกวัตถุในหลาย ๆ ลักษณะให้ได้มากที่สุดที่เด็กจะทำได้ และหลังจากที่เด็กจำแนกประเภทได้แล้ว ควรให้เด็กอภิปรายเหตุผลที่เขาได้จำแนกตามประเภทเช่นนั้น

การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
     ประชากรที่ใช้ในกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี เรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ดรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) สังกัดเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ ทั้งหมด 6 ห้องเรียน จำนวน 180 คน

ตัวอย่างแบบทดสอบ
แบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะการสังเกต

ข้อที่ 1
ใช้เวลา 1 - 2 นาที
สถานการณ์ : ให้เด็กดูจากการเขียน 3 ชนิด คือ ดินสอสี ดินสอไม้ และปากกา แล้วถามเด็กว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนต่างจากพวก
อุปกรณ์ ดินสอสี ดินสอไม้ และปากกา อย่างละ 1 ด้าม

คำตอบการให้คะแนน

0 คะแนน เด็กตอบผิดหรือไม่ตอบ
1 คะแนน เด็กตอบถูกหรือชี้ถูก

แบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะการหามิติสัมพันธ์

ข้อที่ 1

ใช้เวลา 1 - 2 นาที
สถานการณ์ : ให้เด็กเลือกภาพจากขวามือที่เป็นภาพขาว - ดำ นำไปวางใต้สีที่เด็กคิดว่าเป็นสีของภาพผักและผลไม้ตามธรรมชาติ
อุปกรณ์ ภาพผลไม้สีขาว - ดำ ภาพสีของผักและผลไม้ตามธรรมชาติ

คำตอบการให้คะแนน

0 คะแนน เด็กตอบผิดหรือไม่ตอบ
1 คะแนน เด็กตอบถูกหรือชี้ถูก

คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ

คำชี้แจง
คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ตอน ดังนี้    
     ตอนที่ 1 คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
     ตอนที่ 2 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ 

บทบาทครูในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
1.จัดเตรียมสภาพแวดล้อมและสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับเด็ก อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
2. สร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    - ให้เด็กแต่ละคนวางแผนร่วมกัน
    - ให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงขณะทำกิจกรรม
    - ระหว่างทำกิจกรรมครูกระตุ้นให้เด็กสังเกต และตอบคำถาม
    - ในการถามตอบครูต้องจดบันทึก
    - ครูต้องให้เด้กสรุปผลการเรียนตามที่เด็กเข้าใจ
บทบาทเด็กในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
1. ปฏิบัติตามข้อตกลงในการเรียนรู้เกี่ยวกับสีจากธรรมชาติ
2. ตั้งใจและร่วมมือปฏิบัติในการเรียนรู้ที่ได้วางแผน
3.เด็กร่วมกันสรุปการเรียนรู้ตามความเข้าใจของตนเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น